1. ลักษณะการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ
การบาดเจ็บจากการกีฬาเกิดขึ้นได้เสมอ และเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งจะมีตำแหน่งการบาดเจ็บที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการใช้งานส่วนของอวัยวะนั้นหนักไปทางใด ของการเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความสำคัญ กับส่วนที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ จึงควรทราบเพื่อการป้องกันการบาดเจ็บ ในการเล่นกีฬาต่อไป
ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ (2548 : 26) ได้กล่าวถึงตำแหน่งที่บาดเจ็บของแต่ละชนิดกีฬาไว้ ดังนี้ |
ชนิดกีฬา
|
ตำแหน่งที่บาดเจ็บมากที่สุด
|
ตำแหน่งที่บาดเจ็บรองลงมาตามลำดับ
|
ฟุตบอล |
หัวเข่า |
ข้อเท้า ต้นขา และหลัง |
กรีฑา |
ขา |
หัวเข่า ข้อเท้า ต้นขา และหลัง |
รักบี้ฟุตบอล |
ต้นขาและเข่า |
ไหล่ ข้อเท้า และขา |
วอลเลย์บอล |
ข้อเข่า |
ข้อเท้า หลัง ไหล่ มือและนิ้วมือ |
บาสเกตบอล |
ข้อเข่า |
ข้อเท้า หลัง มือและนิ้วมือ เท้าและนิ้วเท้า |
แบดมินตัน |
ข้อเข่า |
ข้อเท้า หลัง ไหล่ และข้อศอก |
เทนนิส |
ข้อศอก |
ข้อเข่า หลัง ข้อมือ และไหล่ |

2. สาเหตุของอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา
สำหรับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬานั้น สุนทร แม้นสงวน
(2545 : 334) ได้กล่าวไว้ว่าอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา อาจแยกสาเหตุออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
- สาเหตุจากตัวผู้เล่น
- สาเหตุจากวิธีการเล่น
- สาเหตุจากอุปกรณ์
2.1 สาเหตุจากตัวผู้เล่น
2.1.1 ความไม่พร้อมของร่างกาย ผู้เล่นมีร่างกายไม่สมบูรณ์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ
หอบหืด ลมชัก หรืออาจฝึกซ้อมไม่เพียงพอ
2.1.2.ความไม่เหมาะสมกับประเภทของกีฬา อาจจะเป็นเพราะรูปร่าง ความคล่องตัว ไหวพริบ พละกำลัง
2.1.3 ความแตกต่างของสภาพจิตใจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) ประเภทขี้ขลาด หรือหวาดกลัวการเล่น อยากทำแต่กลัว
2) ประเภทกล้า บ้าบิ่น โอ้อวด ถ้าขาดการควบคุมทางจิตใจ สมาธิแล้ว มักเกิดอุบัติเหต
2.1.4 การบาดเจ็บในอดีต นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บแล้วยังไม่หายดี หรือหายแล้วแต่ยังมีอาการกลัว เมื่อกระทำซ้ำคล้ายแบบเดิมก็จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกได้ อาจจะกลัวที่จะโดนซ้ำที่เดิม หรือไม่สามารถใช้ส่วนที่เคยได้รับบาดเจ็บได้ เมื่อพยายามใช้ก็เกิดการบาดเจ็บขึ้น
2.1.5 การขาดความระมัดระวังต่อการเล่น เกิดความประมาท เลินเล่อ
2.1.6 ไม่มีทักษะ หรือขาดความรู้ในการเล่นกีฬาประเภทนั้น ๆ
2.1.7 การเตรียมพร้อมก่อนลงแข่งขัน
1) ชุดแข่งขัน เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดกีฬา
2) การอบอุ่นร่างกายไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะกับชนิดกีฬานั้น
3)อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอาจไม่ครบ หรือขาดประสิทธิภาพ
2.1.8 ขาดคุณธรรมในการเล่น คดโกงเพื่อชัยชนะ หรือใช้ยากระตุ้น
2.2 สาเหตุจากวิธีการเล่น
อุบัติเหตุในการเล่นกีฬามีสาเหตุจากวิธีการเล่น ดังที่ สุนทร แม้นสงวน (2545 : 245 -246) ดังนี้
2.2.1 ไม่เคารพกฎกติกา เล่นนอกกติกา อันเนื่องมาจากผู้ควบคุมฝึกสอนละเลย ผู้ตัดสินควบคุมไม่ดีพอ เมื่อฝ่ายหนึ่งทำได้อีกฝ่ายก็โต้ตอบบ้าง เพราะคิดว่าเป็นวิธีการเล่น ความรุนแรงจึงเกิดขึ้นจนเป็นอุบัติเหตุ
2.2.2 การเล่นโดยขาดการควบคุม ไม่เข้าใจวิธีการเล่น อยากเล่นทั้งที่ไม่รู้จักหลักวิธีการเล่นที่ถูกต้อง เช่น การยิงธนู ยิงปืน รักบี้ฟุตบอล บางเกตบอล เป็นต้น
นอกจากนี้ กองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ กรมพลศึกษา (2534 : 4) ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า
2.2.3 การเล่นตามลำพัง การที่ครูหรือผู้ฝึกสอนปล่อยให้เล่นกันเองตามลำพัง มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เสมอ เพราะเด็กยังไม่มีทักษะในการเล่นที่ดีเพียงพอ และมักขาดความระมัดระวัง
2.2.4 การขาดผู้นำที่มีทักษะในการฝึกหลายหน่วยงานหรือโรงเรียนมักมีครูพลศึกษาหรือผู้นำในการฝึกกีฬา ไม่เพียงพอ
2.3 สาเหตุจากอุปกรณ์การเล่น
กองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ กรมพลศึกษา (2534 : 4) กล่าวถึง อุปกรณ์การเล่นกีฬาที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ไว้ดังนี้
2.3.1 เสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ และชนิดของกิจกรรมกีฬา เช่น สวมรองเท้าแตะ นุ่งกางเกงยีนส์ ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการเล่นและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
2.3.2 อุปกรณ์การเล่นไม่ได้มาตรฐาน หรือเกิดการชำรุดบกพร่อง ไม่ถูกประเภท ไม่ได้ขนาดที่เหมาะสมกับผู้เล่น เช่น ราวเดี่ยว ราวคู่ หีบกระโดด ไม้เทนนิส เป็นต้น
2.3.3 สนามหรือโรงฝึกกีฬาที่ไม่ปลอดภัย มีหลุมมีบ่อ มีเศษวัสดุ อิฐ เศษแก้ว หรือจัดวางของไม่เป็นระเบียบ

3. การป้องกันอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา
ชุมพล ปานเกตุ (2540 :104-114) กล่าวถึงการบาดเจ็บทางการกีฬาว่า
การบาดเจ็บจะเกิดได้ 2 ประเภท คือ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด และการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการใช้งานเกินกำหนด การบาดเจ็บทั้งสองประเภทนี้
อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก สาเหตุภายในตัวนักกีฬาเอง หรือ เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุภายนอกตัวนักกีฬา เนื่องจากการฝึกซ้อมกีฬาจำเป็นต้องการ การฝึกซ้อมเป็นระยะเวลานาน ๆ ดังนั้น
อุบัติเหตุที่มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ คือการใช้งานของอวัยวะต่าง ๆ มากเกินกำหนด การบาดเจ็บจึงเกิดขึ้นบ่อย และเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ฝึกสอนควรให้ความสนใจให้มาก
|
อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป |
|
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด |
|
|
|
ตัวอย่าง เช่น การบาดเจ็บเอ็นร้อยหวาย การเจ็บตรงกระดูกหน้าแข้ง
|
|
|
ตัวอย่างเช่น
การกระตุกของกล้ามเนื้อ การฉีกขาดของเอ็น |
|
|
ตัวอย่างเช่น
การพองของผิวหนังเท้า |
|
|
ตัวอย่าง เช่น จักรตกใส่ศีรษะ
เกิดบาดแผลจากการหกล้ม |
|
แผนภูมิแสดงการบาดเจ็บทั้ง 2 ประเภท
ผู้ฝึกสอนควรจำไว้เสมอว่า นักกีฬาทุกคนจะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการฝึกซ้อมพอๆ กับการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มิได้เป็นกิจกรรมทางกีฬา เช่น อาจจะตกบันได หรือลื่นตกขั้นบันไดได้ง่ายๆ เหมือนคนที่ไม่ใช่นักกีฬา และไม่ว่าจะระมัดระวังอย่างไร อุบัติเหตุก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ถ้าได้ระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ก็ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้บ้าง การป้องกันการบาดเจ็บนั้นดีกว่าการรักษา จึงควรมีมาตรการป้องกันที่เฉพาะเจาะจงลงไป ซึ่งผู้ฝึกสอนควรรู้มาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุในการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬา และที่สำคัญคือต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการนั้นอย่างจริงจังอีกด้วย โดยการใช้มาตรการ การป้องกันการบาดเจ็บนั้น เราแบ่งออกเป็น 6 อย่าง คือ
- การป้องกันโดยอาศัยทักษะ (Prevention through skill)
- การป้องกันโดยความสมบูรณ์ของร่างกาย (Prevention through fitness)
- การป้องกันโดยโภชนาการ (Prevention through nutrition)
- การป้องกันโดยการอบอุ่นร่างกาย (Prevention through warm-up)
- การป้องกันโดยสิ่งแวดล้อม (Prevention through environment)
- การป้องกันโดยการรักษา (Prevention through treatment)
ส่วน กองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ กรมพลศึกษา (2534:5–6) กล่าวว่า การป้องกันอุบัติเหตุในการเล่นกีฬา ควรมีดังนี้
1. การป้องกันด้านตัวผู้เล่น
1.1 การรักษาสุขภาพของร่างกาย เช่น การพักผ่อน อาหาร อาการผิดปกติ
1.2 การควบคุมอารมณ์
1.3 การเรียนรู้วิธีการและทักษะในการเล่นกีฬา
2. การป้องกันด้านการเล่น
2.1 การเลือกเล่นกีฬาให้ปลอดภัย โดยคำนึงถึงวัย
2.2 การเรียนรู้อุบัติเหตุและข้อควรระวังในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
2.3 การดูแลและควบคุมการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
3. การป้องกันด้านอุปกรณ์การเล่น
3.1 การแต่งกาย
3.2 การดูแลอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ |

|